จดทะเบียนบริษัทจดทะเบียนบริษัทภาคกลาง

จดทะเบียนบริษัทสิงห์บุรี

จดทะเบียนบริษัทสิงห์บุรี

สิงห์บุรี ตั้งอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพมหานคร 142 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 822.478 ตารางกิโลเมตร หรือ 514,049 ไร่ จดทะเบียนบริษัทสิงห์บุรี  มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอสรรพยา (จังหวัดชัยนาท) และอำเภอตาคลี (จังหวัดนครสวรรค์)
  • ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอไชโย อำเภอโพธิ์ทอง และอำเภอแสวงหา (จังหวัดอ่างทอง)
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบ้านหมี่และอำเภอท่าวุ้ง (จังหวัดลพบุรี)
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอสรรคบุรี (จังหวัดชัยนาท) และอำเภอเดิมบางนางบวช (จังหวัดสุพรรณบุรี)
  • คำขวัญประจำจังหวัด : ถิ่นวีรชนคนกล้า คู่หล้าพระนอน นามกระฉ่อนปลาช่อนแม่ลา เทศกาลกินปลาประจำปี
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด : ต้นมะกล่ำตาช้างหรือมะกล่ำต้น (Adenanthera pavonina)
  • สัตว์น้ำประจำจังหวัด : ปลาช่อน (Channa striata)

รับจดทะเบียนบริษัทสิงห์บุรี จดทะเบียนบริษัทสิงห์บุรี รับจดทะเบียนบริษัทจังหวัดสิงห์บุรี จดทะเบียนบริษัทจังหวัดสิงห์บุรี จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสิงห์บุรี รับทำบัญชีสิงห์บุรี ทำบัญชีสิงห์บุรี รับวางระบบบัญชีสิงห์บุรี วางระบบบัญชีสิงห์บุรี รับตรวจสอบบัญชีสิงห์บุรี ตรวจสอบบัญชีสิงห์บุรี อำเภอเมืองสิงห์บุรี อำเภอบางระจัน อำเภอค่ายบางระจัน อำเภอพรหมบุรี อำเภอท่าช้าง อำเภออินทร์บุรี

จดทะเบียนนิติบุคคลใหม่ แค่ 2 คน ตั้งบริษัทได้ เริ่มใช้ 7 ก.พ. 66

พาณิชย์แง้มข่าวดี พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 23) พ.ศ. 2565 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 มีผลบังคับใช้วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 สาระสำคัญ ลดจำนวนผู้เริ่มก่อการจัดตั้งบริษัทจำกัดจาก 3 คน เหลือแค่ 2 คน
วันที่ 6 ธันวาคม 2565 นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจในการจดทะเบียนนิติบุคคล ได้เสนอพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 23) พ.ศ. 2565 และพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2565

ทั้งนี้ เพื่อปรับปรุงประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 22 หุ้นส่วนและบริษัทให้มีความทันสมัย รองรับการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของเทคโนโลยี ส่งเสริมให้จัดตั้งบริษัทจำกัดได้ง่ายขึ้น เพิ่มความคล่องตัวในการประกอบธุรกิจ อีกทั้งช่วยให้บริษัทจำกัดสามารถควบรวมกิจการได้มากกว่าหนึ่งลักษณะ

ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของประเทศและสร้างภาพลักษณ์อันดีในการประกอบธุรกิจ รองรับระบบเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล ประการสำคัญที่สุดคือ ช่วยลดค่าใช้จ่ายและต้นทุนการดำเนินงานให้ผู้ประกอบธุรกิจตามนโยบายของรัฐบาลอีกทางหนึ่ง

การแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในครั้งนี้ มีประเด็นที่เปลี่ยนแปลงหลายประการ ดังนี้ 1) การยื่นขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทสามารถยื่น ณ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ หรือตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด จากเดิมสำนักงานใหญ่อยู่ในจังหวัดใดต้องจดทะเบียน ณ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดนั้นเท่านั้น
2) รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนด ลด หรือยกเว้นค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน การขอตรวจเอกสาร การขอสำเนาเอกสารพร้อมคำรับรอง และค่าธรรมเนียมอื่นที่เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนและบริษัท หรือกำหนดค่าธรรมเนียมให้แตกต่างกันตามรูปแบบการทำธุรกรรมก็ได้ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนใช้บริการผ่านระบบสารสนเทศมากขึ้น
3) บุคคลตั้งแต่ 2 ขึ้นไปจะเริ่มก่อการและตั้งเป็นบริษัทจำกัดก็ได้ จากเดิมต้อง 3 คนขึ้นไป 4) หนังสือบริคณห์สนธิที่จดทะเบียนไว้ หากไม่ดำเนินการจดทะเบียนบริษัทจำกัดภายใน 3 ปีสิ้นผลทันที จากเดิมที่ไม่มีอายุของการสิ้นผล ทำให้บุคคลอื่นไม่สามารถใช้ชื่อบริษัทที่ปรากฏในหนังสือบริคณห์สนธิที่จดทะเบียนไว้ได้
5) บริษัทใดมีตราประทับต้องประทับตราในใบหุ้นทุกใบ 6) ให้ธุรกิจนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับการประชุมกรรมการได้เพิ่มขึ้นอีกวิธีหนึ่ง นอกจากต้องมาประชุม ณ สถานที่นัดประชุมเท่านั้น 7) ยกเลิกการนำหนังสือเชิญประชุมไปลงประกาศในหนังสือพิมพ์ ยกเว้นในกรณีบริษัทจำกัดมีหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือที่ยังต้องโฆษณาในหนังสือพิมพ์ หรือในสื่ออิเล็กทรอนิกส์อยู่

 

จดทะเบียนบริษัท รับจดทะเบียนบริษัท

ให้บริการด้านการจัดตั้งธุรกิจ รับจดทะเบียนบริษัททุกประเภท ทั่วไทย รับเป็นที่ปรึกษาด้านบัญชี ภาษี ตรวจสอบภายใน เขียนแผนธุรกิจ การตลาด สื่อโฆษณา การเงิน แรงงาน กฎหมาย ด้วยทีมงานที่มีประสบการณ์พร้อมด้วยบริการอย่างมีประสิทธิภาพ ราคาเป็นธรรมและซื่อสัตย์ตรงไปตรงมา

1. งานด้านจดทะเบียนธุรกิจ ทุกประเภท
1.1
จดทะเบียนบริษัทจำกัด
1.2
จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด
1.3
จดทะเบียนใบทะเบียนพณิชย์ (ร้านค้า)
1.4
จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญ
1.5
จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
1.6
จดทะเบียนบริษัทมหาชน

2. งานด้าน บัญชี
2.1
รับวางระบบบัญชี ทั้งระบบ หรือ เฉพาะ แผนก
2.2
รับจัดทำบัญชี รายเดือน รายปี ทำงบส่งผู้บริหาร
2.3
รับตรวจสอบบัญชี ตรวจกิจการ ( BOI ) โดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (ประสบการณ์ งานตรวจ บริษัท องค์กร ขนาดใหญ่)

3. งานด้าน มูลนิธิ สมาคม องค์กรพัฒนาเอกชน "เอ็นจีโอ" (NGOs)
3.1
ให้คำปรึกษา งานจัดตั้ง มูลนิธิ และ สมาคม
3.2
ให้คำปรึกษา จัดอบรมสัมมนา การดำเนินงาน ของ มูลนิธิ และสมาคม
3.3
ให้คำปรึกษา การขออนุญาต ดำเนินงาน ของ องค์กรพัฒนาเอกชน "เอ็นจีโอ" (NGOs)

4. งานบริการ ด้านที่ปรึกษาทางธุรกิจ
4.1
ที่ปรึกษา ด้านการตลาด การประชาสัมพันธ์ จัดงานแถลงข่าว เปิดตัวผลิตภัณฑ์
4.2
ที่ปรึกษา ด้านกฎหมาย การร่างสัญญา กฎหมายแรงงาน
4.3
ที่ปรึกษา ด้านการเงิน การเข้าถึงแหล่งเงินทุน การเขียนแผนเพื่อยื่นขอสินเชื่อ

5. งานบริการ ด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ การดำเนิน ธุรกิจ
5.1
กาจดเปลี่ยนแปลง ที่ตั้งสำนักงาน เพิ่มสาขา เพิ่มทุนจดทะเบียน แก้กรรมการ เข้า-ออก แก้อำนาจกรรมการ เปลี่ยนชื่อบริษัท แปรสภาพห้างหุ้นส่วนเป็นบริษัทจำกัด
5.2
ขึ้นทะเบียนประกันสังคม ขอบัตร นำเข้า-ส่งออก ขอใบอนุญาตธุรกิจท่องเที่ยว
5.3
งานแปล และรับรองเอกสาร เอกสารราชการ การรับรองสัญชาติ
5.4
งานจดเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายร่วม เครื่องหมายรับรอง ชื่อทางการค้า ความลับทางการค้า
5.5
งานขออนุญาตธุรกิจต่างด้าว ขอรับสิทธิส่งเสริมการลงทุน ( BOI )
5.6
ขออนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

จดทะเบียนนิติบุคคลทุกประเภท และให้เราดูแลบัญชี รับฟรี
1.ค่าออกแบบ เว็บไซต์ มูลค่า 5,900 บาท
2.โดเมน .com .net .biz .org .info 1ปี มูลค่า 450 บาท
3.พื้นที่ โฮสติ้ง สำหรับจัดเก็บเว็บไซต์ 1 Gb 1ปี มูลค่า 1,000 บาท
4.ระบบ อีเมล์ บริษัท มูลค่า 2,000 บาท

สนใจ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมฟรี ได้ที่
โทร : 094-943-1414 


ประวัติศาสตร์

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเล่าถึงเมืองสิงห์ถวายสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ไว้ในสาสน์สมเด็จว่า

...เมืองสิงห์บุรีเป็นเมืองใหญ่และเก่า มีป้อมปราการ วัง วัดมหาธาตุ และของสำคัญ คือ พระนอนจักรสีห์ ใหญ่ยาวกว่าพระนอนองค์อื่น ๆ ในเมืองไทย ทำเป็นแบบพระนอนอินเดียเหมือนเช่นที่ถ้ำคูหาภิมุข วัดคูหาภิมุข อำเภอเมืองยะลา คือ พระกรขวาศอกยื่นไปทางด้านหน้า ไม่ทำงอพระกรตั้งขึ้นรับพระเศียรแบบพระนอนไทย เมืองสิงห์เรียกชื่อต่าง ๆ ดังนี้ เมืองสิงหราชาธิราช เมืองสิงหราชา เป็นเมืองตั้งอยู่ริมแม่น้ำจักรสีห์อันเป็นลำน้ำใหญ่ ห่างแม่น้ำเจ้าพระยา 200 เส้น เพราะแม่น้ำจักรสีห์ตื้นเขิน เมืองสิงห์จึงกลายเป็นเมืองอยู่ลับลี้...

ก็แสดงว่า สิงห์บุรีเป็นเมืองที่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ มีอดีตยาวนาน จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีพบว่า มีการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณมาเป็นเวลานานหลายยุคหลายสมัย

ยุคก่อนประวัติศาสตร์
พบร่องรอยหลักฐานมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านชีน้ำร้าย อำเภออินทร์บุรี บ้านบางวัว ตำบลไม้ดัด อำเภอบางระจัน บ้านคู ตำบลพักทัน อำเภอบางระจัน คือ ขวานหิน แวดินเผา หินดุ ชิ้นส่วนกำไลสำริด ค้นพบโดยพระเจ้าแสนภูมิ

สมัยทวารวดี
พบหลักฐานที่เมืองโบราณบ้านคูเมือง ตำบลห้วยชัน อำเภออินทร์บุรี เป็นการตั้งถิ่นฐานแบบ "เมืองคูคลอง" มีแผนผังเกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีคูน้ำ คันดินล้อมรอบ โบราณวัตถุที่ขุดพบ เช่น ภาชนะดินเผา ลูกปัด แท่นหินบด แวดินเผา ตะคัน ฯลฯ ส่วนหนึ่งจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อินทร์บุรี ปัจจุบันสถานที่ดังกล่าวเป็นสวนรุกขชาติและที่ตั้งหน่วยอนุรักษ์พันธุ์ไม้จังหวัดสิงห์บุรี

เมืองวัดพระนอนจักรสีห์ ที่ตำบลจักรสีห์ อำเภอเมืองสิงห์บุรี รูปแบบเมืองเป็นเมืองซ้อน มีเมืองชั้นในรูปค่อนข้างกลมและเมืองชั้นนอกล้อมรอบรูปสี่เหลี่ยมมน ไม่ปรากฏร่องรอยกำแพงเมือง (ที่ทำด้วยดินพูนสูง) แต่คูเมืองบางด้านยังปรากฏให้เห็น สิ่งที่พบคือ ลูกปัด แวดินเผา เศษภาชนะ ฯลฯ

แหล่งโบราณคดีบ้านคีม ที่ตำบลสระแจง อำเภอบางระจัน มีสภาพเป็นเนินดินรูปรี กว้าง 200 เมตร ยาว 500 เมตร มีคูน้ำขนาดกว้าง 5 เมตร

สมัยสุโขทัย
มีการค้นพบเครื่องสังคโลกสมัยสุโขทัยตามวัดร้างและแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าชุมชนต่าง ๆ นั้นมีความสำคัญมากน้อยเพียงไร เพราะในช่วงที่อาณาจักรสุโขทัยรุ่งเรืองนั้นได้มีอำนาจแผ่ขยายอาณาเขตครอบคลุมในบริเวณภาคกลางและลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

สมัยอยุธยา
ปรากฏเหตุการณ์ที่สำคัญคือ สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ได้ตั้งเมืองสิงห์บุรีเป็นเมืองลูกหลวง และทรงตั้งเมืองอินทร์บุรีและเมืองพรหมบุรีเป็นเมืองหลานหลวง นอกจากนี้แล้ว เมืองทั้งสามยังเป็นหัวเมืองชั้นในและหัวเมืองหน้าด่านรายทางด้านทิศเหนืออีกด้วย โดยมีเมืองลพบุรีเป็นเมืองหน้าด่านหลัก แสดงให้เห็นว่า เมืองสิงห์บุรี เมืองอินทร์บุรี และเมืองพรหมบุรี มีอยู่แล้วเมื่อตั้งกรุงศรีอยุธยา ก่อนหน้านั้นเมืองทั้งสามอาจอยู่ในการปกครองของอาณาจักรสุโขทัยก็ได้ แต่ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าเมืองทั้งสามสร้างขึ้นในสมัยไหน

สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ทรงจัดการปกครองใหม่ โดยกำหนดให้หัวเมืองชั้นในเป็นหัวเมืองจัตวา ดังนั้น เมืองอินทร์บุรี เมืองพรหมบุรี และเมืองสิงห์บุรีจึงเปลี่ยนฐานะเป็นหัวเมืองจัตวา

ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เมื่อปี พ.ศ. 2086 เมืองสิงห์เป็นเมืองที่สมเด็จพระมหาธรรมราชาให้ทหารไปสืบข่าวเรืองศึกสงครามกับพม่า ขณะเดียวกันก็ได้ยกกองทัพไปตั้งที่เมืองอินทร์บุรี เพื่อหยั่งเชิงดูข้าศึกอีกด้วย ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา สมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา

ในปี พ.ศ. 2127 หลังจากสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพได้ไม่นาน พม่าก็ได้ยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง ครั้งนี้พม่ายกกองทัพมาสองทาง คือ ทางเหนือมีพระเจ้าเชียงใหม่เป็นแม่ทัพ และทางตะวันตกมีพระยาพะสิมเป็นแม่ทัพ แต่ทัพของพระยาพะสิมถูกกองทัพกรุงศรีอยุธยาตีแตกไปก่อน โดยที่พระเจ้าเชียงใหม่ยังไม่ทราบ เมื่อกองทัพพระเจ้าเชียงใหม่ยกมาถึงเมืองชัยนาท ก็ให้แต่งทัพหน้ามาตั้งที่บางพุทรา ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา (ภายหลังคือ ตัวจังหวัดสิงห์บุรี)

พ.ศ. 2308 สมัยพระเจ้าเอกทัศ ในขณะที่พม่าตั้งค่ายล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่ ชาวบ้านบางระจันได้รวมตัวกันต่อสู้กับพม่าที่บ้านบางระจัน เมืองสิงห์บุรี ซึ่งมีผู้นำสำคัญของชาวบ้านและปรากฏชื่อ คือ

พระอาจารย์ธรรมโชติ
นายแท่น
นายโชติ
นายอิน
นายเมือง
นายทองแก้ว
นายดอก
นายจันหนวดเขี้ยว
นายทองแสงใหญ่
นายทองเหม็น
ขุนสรรค์
พันเรือง
โดยชาวบ้านบางระจันได้ต่อสู้กับพม่าและสามารถเอาชนะกองทัพพม่าได้ถึง 7 ครั้ง จนถึงครั้งที่ 8 ชาวบ้านบางระจันจึงพ่ายแพ้ในวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 ปีจอ พ.ศ. 2309 รวมเวลาที่ไทยรบกับพม่าทั้งสิ้น 5 เดือน คือ ตั้งแต่เดือน 4 ปลายปีระกา พ.ศ. 2308 ถึงเดือน 8 ปีจอ พ.ศ. 2309 (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน วีรชนบ้านบางระจัน)

สมัยธนบุรี
เมืองอินทร์บุรี เมืองพรหมบุรี เมืองสิงห์บุรี ขึ้นกับกรุงธนบุรี ในประชุมพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) กล่าวถึงสำเนาท้องตรา พ.ศ. 2316 เกณฑ์ผู้รักษาเมืองสิงห์บุรี เมืองพรหมบุรี เมืองอินทร์บุรี ยกทัพไปสกัดข้าศึกด้านตะวันออกและคุมพรรคพวกซ่องสุมกำลังยกไปขุดคูเลนพระนครกรุงธนบุรี

สมัยรัตนโกสินทร์
มีหลักฐานที่ปรากฏคือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดการปกครองมณฑลเทศาภิบาล เมืองสิงห์บุรี เมืองอินทร์บุรี และเมืองพรหมบุรีเข้าอยู่ในมณฑลกรุงเก่า (ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลอยุธยา) และปี พ.ศ. 2439 ยุบเมืองอินทร์บุรีและเมืองพรหมบุรีเป็นอำเภออินทร์บุรีและอำเภอพรหมบุรีขึ้นกับเมืองสิงห์บุรี พร้อมกับตั้งเมืองสิงห์บุรีขึ้นใหม่ที่ตำบลบางพุทรา ส่วนเมืองสิงห์บุรีเดิมยุบเป็น "อำเภอสิงห์" และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอบางระจัน

ปี พ.ศ. 2444 อำเภอเมืองสิงห์บุรีเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอบางพุทรา และในปี พ.ศ. 2481 ทางราชการสั่งให้เปลี่ยนชื่อที่ว่าการอำเภอที่ตั้งอยู่ในเมืองให้เป็นชื่อของจังหวัดนั้น ๆ อำเภอบางพุทราจึงได้กลับไปใช้ชื่ออำเภอเมืองสิงห์บุรีมาจนถึงปัจจุบัน

การปกครองแบ่งออกเป็น 6 อำเภอ 43 ตำบล 364 หมู่บ้าน

อำเภอเมืองสิงห์บุรี
อำเภอบางระจัน
อำเภอค่ายบางระจัน
อำเภอพรหมบุรี
อำเภอท่าช้าง
อำเภออินทร์บุรี