จดทะเบียนบริษัทจดทะเบียนบริษัทภาคกลาง

จดทะเบียนบริษัทอยุธยา

จดทะเบียนบริษัทอยุธยา จดทะเบียนบริษัทพระนครศรีอยุธยา 

พระนครศรีอยุธยา(อยุธยา) เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดมีมูลค่าสูงเป็นอันดับ 3 ของประเทศ และมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนาน เคยมีชื่อเสียงในฐานะเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นจังหวัดที่ไม่มีอำเภอเมือง มีอำเภอพระนครศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการด้านต่าง ๆ ชาวบ้านโดยทั่วไปนิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "กรุงเก่า" หรือ "เมืองกรุงเก่า" จดทะเบียนบริษัทอยุธยา

  • คำขวัญประจำจังหวัด : ราชธานีเก่า อู่ข้าวอู่น้ำ เลิศล้ำกานท์กวี คนดีศรีอยุธยา
  • ตราประจำจังหวัด : รูปสังข์ซึ่งประดิษฐานอยู่ในพานแว่นฟ้าภายในปราสาทใต้ต้นหมัน ซึ่งนับถือกัน  ว่าเป็นสัญลักษณ์อันประเสริฐ
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด : หมัน (Cordia dichotoma)
  • ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกโสน (Sesbania aculeata)
  • สัตว์น้ำประจำจังหวัด : กุ้งก้ามกรามหรือกุ้งสมเด็จ (Macrobrachium rosenbergii)

จดทะเบียนบริษัทอยุธยา รับจดทะเบียนบริษัทอยุธยา รับจดทะเบียนบริษัทพระนครศรีอยุธยา จดทะเบียนบริษัทพระนครศรีอยุธยา รับจดทะเบียนบริษัทจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จดทะเบียนบริษัทจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนพระนครศรีอยุธยา รับทำบัญชีพระนครศรีอยุธยา ทำบัญชีพระนครศรีอยุธยา รับวางระบบบัญชีพระนครศรีอยุธยา วางระบบบัญชีพระนครศรีอยุธยา รับตรวจสอบบัญชีพระนครศรีอยุธยา ตรวจสอบบัญชีพระนครศรีอยุธยา อำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา พระนครศรีอยุธยา ท่าเรือ นครหลวง บางไทร บางบาล บางปะอิน บางปะหัน ผักไห่ ภาชี ลาดบัวหลวง วังน้อย เสนา บางซ้าย อุทัย มหาราช บ้านแพรก

จดทะเบียนนิติบุคคลใหม่ แค่ 2 คน ตั้งบริษัทได้ เริ่มใช้ 7 ก.พ. 66

พาณิชย์แง้มข่าวดี พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 23) พ.ศ. 2565 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 มีผลบังคับใช้วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 สาระสำคัญ ลดจำนวนผู้เริ่มก่อการจัดตั้งบริษัทจำกัดจาก 3 คน เหลือแค่ 2 คน
วันที่ 6 ธันวาคม 2565 นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจในการจดทะเบียนนิติบุคคล ได้เสนอพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 23) พ.ศ. 2565 และพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2565

ทั้งนี้ เพื่อปรับปรุงประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 22 หุ้นส่วนและบริษัทให้มีความทันสมัย รองรับการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของเทคโนโลยี ส่งเสริมให้จัดตั้งบริษัทจำกัดได้ง่ายขึ้น เพิ่มความคล่องตัวในการประกอบธุรกิจ อีกทั้งช่วยให้บริษัทจำกัดสามารถควบรวมกิจการได้มากกว่าหนึ่งลักษณะ

ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของประเทศและสร้างภาพลักษณ์อันดีในการประกอบธุรกิจ รองรับระบบเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล ประการสำคัญที่สุดคือ ช่วยลดค่าใช้จ่ายและต้นทุนการดำเนินงานให้ผู้ประกอบธุรกิจตามนโยบายของรัฐบาลอีกทางหนึ่ง

การแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในครั้งนี้ มีประเด็นที่เปลี่ยนแปลงหลายประการ ดังนี้ 1) การยื่นขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทสามารถยื่น ณ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ หรือตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด จากเดิมสำนักงานใหญ่อยู่ในจังหวัดใดต้องจดทะเบียน ณ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดนั้นเท่านั้น
2) รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนด ลด หรือยกเว้นค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน การขอตรวจเอกสาร การขอสำเนาเอกสารพร้อมคำรับรอง และค่าธรรมเนียมอื่นที่เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนและบริษัท หรือกำหนดค่าธรรมเนียมให้แตกต่างกันตามรูปแบบการทำธุรกรรมก็ได้ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนใช้บริการผ่านระบบสารสนเทศมากขึ้น
3) บุคคลตั้งแต่ 2 ขึ้นไปจะเริ่มก่อการและตั้งเป็นบริษัทจำกัดก็ได้ จากเดิมต้อง 3 คนขึ้นไป 4) หนังสือบริคณห์สนธิที่จดทะเบียนไว้ หากไม่ดำเนินการจดทะเบียนบริษัทจำกัดภายใน 3 ปีสิ้นผลทันที จากเดิมที่ไม่มีอายุของการสิ้นผล ทำให้บุคคลอื่นไม่สามารถใช้ชื่อบริษัทที่ปรากฏในหนังสือบริคณห์สนธิที่จดทะเบียนไว้ได้
5) บริษัทใดมีตราประทับต้องประทับตราในใบหุ้นทุกใบ 6) ให้ธุรกิจนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับการประชุมกรรมการได้เพิ่มขึ้นอีกวิธีหนึ่ง นอกจากต้องมาประชุม ณ สถานที่นัดประชุมเท่านั้น 7) ยกเลิกการนำหนังสือเชิญประชุมไปลงประกาศในหนังสือพิมพ์ ยกเว้นในกรณีบริษัทจำกัดมีหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือที่ยังต้องโฆษณาในหนังสือพิมพ์ หรือในสื่ออิเล็กทรอนิกส์อยู่

 

จดทะเบียนบริษัท รับจดทะเบียนบริษัท

ให้บริการด้านการจัดตั้งธุรกิจ รับจดทะเบียนบริษัททุกประเภท ทั่วไทย รับเป็นที่ปรึกษาด้านบัญชี ภาษี ตรวจสอบภายใน เขียนแผนธุรกิจ การตลาด สื่อโฆษณา การเงิน แรงงาน กฎหมาย ด้วยทีมงานที่มีประสบการณ์พร้อมด้วยบริการอย่างมีประสิทธิภาพ ราคาเป็นธรรมและซื่อสัตย์ตรงไปตรงมา

1. งานด้านจดทะเบียนธุรกิจ ทุกประเภท
1.1
จดทะเบียนบริษัทจำกัด
1.2
จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด
1.3
จดทะเบียนใบทะเบียนพณิชย์ (ร้านค้า)
1.4
จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญ
1.5
จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
1.6
จดทะเบียนบริษัทมหาชน

2. งานด้าน บัญชี
2.1
รับวางระบบบัญชี ทั้งระบบ หรือ เฉพาะ แผนก
2.2
รับจัดทำบัญชี รายเดือน รายปี ทำงบส่งผู้บริหาร
2.3
รับตรวจสอบบัญชี ตรวจกิจการ ( BOI ) โดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (ประสบการณ์ งานตรวจ บริษัท องค์กร ขนาดใหญ่)

3. งานด้าน มูลนิธิ สมาคม องค์กรพัฒนาเอกชน "เอ็นจีโอ" (NGOs)
3.1
ให้คำปรึกษา งานจัดตั้ง มูลนิธิ และ สมาคม
3.2
ให้คำปรึกษา จัดอบรมสัมมนา การดำเนินงาน ของ มูลนิธิ และสมาคม
3.3
ให้คำปรึกษา การขออนุญาต ดำเนินงาน ของ องค์กรพัฒนาเอกชน "เอ็นจีโอ" (NGOs)

4. งานบริการ ด้านที่ปรึกษาทางธุรกิจ
4.1
ที่ปรึกษา ด้านการตลาด การประชาสัมพันธ์ จัดงานแถลงข่าว เปิดตัวผลิตภัณฑ์
4.2
ที่ปรึกษา ด้านกฎหมาย การร่างสัญญา กฎหมายแรงงาน
4.3
ที่ปรึกษา ด้านการเงิน การเข้าถึงแหล่งเงินทุน การเขียนแผนเพื่อยื่นขอสินเชื่อ

5. งานบริการ ด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ การดำเนิน ธุรกิจ
5.1
กาจดเปลี่ยนแปลง ที่ตั้งสำนักงาน เพิ่มสาขา เพิ่มทุนจดทะเบียน แก้กรรมการ เข้า-ออก แก้อำนาจกรรมการ เปลี่ยนชื่อบริษัท แปรสภาพห้างหุ้นส่วนเป็นบริษัทจำกัด
5.2
ขึ้นทะเบียนประกันสังคม ขอบัตร นำเข้า-ส่งออก ขอใบอนุญาตธุรกิจท่องเที่ยว
5.3
งานแปล และรับรองเอกสาร เอกสารราชการ การรับรองสัญชาติ
5.4
งานจดเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายร่วม เครื่องหมายรับรอง ชื่อทางการค้า ความลับทางการค้า
5.5
งานขออนุญาตธุรกิจต่างด้าว ขอรับสิทธิส่งเสริมการลงทุน ( BOI )
5.6
ขออนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

จดทะเบียนนิติบุคคลทุกประเภท และให้เราดูแลบัญชี รับฟรี
1.ค่าออกแบบ เว็บไซต์ มูลค่า 5,900 บาท
2.โดเมน .com .net .biz .org .info 1ปี มูลค่า 450 บาท
3.พื้นที่ โฮสติ้ง สำหรับจัดเก็บเว็บไซต์ 1 Gb 1ปี มูลค่า 1,000 บาท
4.ระบบ อีเมล์ บริษัท มูลค่า 2,000 บาท

สนใจ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมฟรี ได้ที่
โทร : 094-943-1414 


ประวัติศาสตร์

พระนครศรีอยุธยาเคยเป็นราชธานี (เมืองหลวง) ของอาณาจักรอยุธยา หรืออาณาจักรสยาม ตลอดระยะเวลา 417 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 1893 กระทั่งเสียกรุงแก่พม่า เมื่อ พ.ศ. 2310 ครั้นเมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสถาปนาราชธานีแห่งใหม่ที่กรุงธนบุรี กรุงศรีอยุธยาก็ไม่ได้กลายเป็นเมืองร้าง ยังมีคนที่รักถิ่นฐานบ้านเดิมอาศัยอยู่และมีราษฎรที่หลบหนี้ไปอยู่ตามป่ากลับเข้ามาอาศัยอยู่รอบ ๆ เมือง รวมกันเข้าเป็นเมือง จนทางการยกเป็นเมืองจัตวาเรียกว่า "เมืองกรุงเก่า"

เมื่อ พ.ศ. 2325 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงยกเมืองกรุงเก่าขึ้นเป็น หัวเมืองจัตวา เช่นเดียวกับในสมัยกรุงธนบุรี หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้จัดการปฏิรูปการปกครองทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยการปกครองส่วนภูมิภาคนั้น โปรดให้จัดการปกครองแบบเทศาภิบาลขึ้น โดยให้รวมเมืองที่อยู่ใกล้เคียงกัน 3-4 เมือง ขึ้นเป็นมณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครอง โดยในปี พ.ศ. 2438 โปรดให้จัดตั้งมณฑลกรุงเก่าขึ้น ประกอบด้วยหัวเมืองต่าง ๆ คือ กรุงเก่าหรืออยุธยา อ่างทอง สระบุรี พระพุทธบาท ลพบุรี พรหมบุรี อินทร์บุรี และสิงห์บุรี

ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมเมืองอินทร์บุรีและเมืองพรหมบุรีเข้ากับเมืองสิงห์บุรี รวมเมืองพระพุทธบาทเข้ากับเมืองสระบุรี ตั้งที่ว่าการมณฑลที่อยุธยา และในปี พ.ศ. 2469 เปลี่ยนชื่อจาก "มณฑลกรุงเก่า" เป็น "มณฑลอยุธยา" ซึ่งจากการจัดตั้งมณฑลอยุธยามีผลให้อยุธยามีความสำคัญทางการบริหารการปกครองมากขึ้น การสร้างสิ่งสาธารณูปโภคหลายอย่างมีผลต่อการพัฒนาเมืองอยุธยาในเวลาต่อมา จนเมื่อยกเลิกการปกครองระบบมณฑลเทศาภิบาล ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 อยุธยาจึงเปลี่ยนฐานะเป็นจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจนถึงปัจจุบัน

ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีนโยบายบูรณะโบราณสถานภายในเมืองอยุธยา เพื่อเป็นการฉลองยี่สิบห้าพุทธศตวรรษ ประจวบกับในปี พ.ศ. 2498 นายกรัฐมนตรีประเทศพม่าเดินทางมาเยือนประเทศไทย และได้มอบเงินจำนวน 200,000 บาท เพื่อปฏิสังขรณ์วัดและองค์พระมงคลบพิตร เป็นการเริ่มต้นบูรณะโบราณสถานในอยุธยาอย่างจริงจัง ซึ่งต่อมากรมศิลปากรเป็นหน่วยงานสำคัญในการดำเนินการ จนองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโกมีมติให้ประกาศขึ้นทะเบียนอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เป็น "มรดกโลก" เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2534 มีพื้นที่ครอบคลุมในบริเวณโบราณสถานเมืองอยุธยา

 
ในสมัยอาณาจักรอยุธยามีการแบ่งการปกครองในราชธานีออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่

การปกครองภายในบริเวณกำแพงเมือง โดยในบริเวณกำแพงเมืองก็จะแบ่งออกเป็น 4 แขวงได้แก่
แขวงขุนธรณีบาล
แขวงขุนโลกบาล
แขวงขุนธราบาล
แขวงขุนนราบาล

ต่อมาในสมัยอาณาจักรธนบุรีจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้รวมทั้ง 4 แขวงภายในกำแพงเมืองเป็นแขวงเดียวกัน เรียกว่า "แขวงรอบกรุง" และขยายอาณาเขตออกมาเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน และต่อมาเปลี่ยนมาเป็นอำเภอรอบกรุง อำเภอกรุงเก่าและอำเภอพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน ตามลำดับ

การปกครองนอกบริเวณกำแพงเมือง บริเวณนอกกำแพงเมืองแบ่งออกเป็น 3 แขวงได้แก่
แขวงขุนนคร อยู่ทางทิศเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของกำแพงพระนครตั้งแต่ลำน้ำลพบุรีและลุ่มน้ำป่าสัก ต่อมามีการแบ่งออกเป็นแขวง คือทางด้านตะวันตกเป็น แขวงนครใหญ่และด้านตะวันออกเป็นแขวงนครน้อย
แขวงขุนอุทัย อยู่ทางใต้ตั้งแต่เขตของแขวงขุนนครตลอดลงมายังมายังแม่น้ำเจ้าพระยาด้านตะวันออก ต่อมาได้มีการแบ่งออกเป็นแขวง คือ แขวงอุทัยใหญ่และแขวงอุทัยน้อย
แขวงขุนเสนา อยู่ทางด้านตะวันตกมีอาณาเขตด้านเหนือจรดตะวันตกเฉียงใต้ของแขวงขุนนครและตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมา ได้มีการแบ่งออกเป็นแขวง คือแขวงเสนาใหญ่และแขวงเสนาน้อย

ดังนั้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวแขวงในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจึงมีทั้งหมด 7 แขวงคือ

แขวงรอบกรุง
แขวงนครใหญ่
แขวงนครน้อย
แขวงอุทัยใหญ่
แขวงอุทัยน้อย
แขวงเสนาใหญ่
แขวงเสนาน้อย
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีการจัดระเบียบการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาล มีการรวมเมืองเข้าด้วยกันเป็นมณฑล เปลี่ยนคำเรียกเมือง เป็นจังหวัด แขวง จึงต้องเปลี่ยนเป็น อำเภอ ตามไปด้วย

ต่อมาสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้นได้ทรงดำริว่า

อำเภอแต่ละอำเภอมีพลเมืองมากและมีท้องที่กว้างจึงให้แบ่งเขตการปกครองออกไปอีก ในทุกอำเภอยกเว้นอำเภอรอบกรุง อำเภออุทัยใหญ่และอำเภออุทัยน้อยดังนี้

อำเภอนครใหญ่ ให้ทางตอนเหนือคงเป็นอำเภอนครใหญ่และแบ่งเขตท้องที่ตอนใต้ออกเป็น อำเภอนครใน
อำเภอนครน้อย ให้ทางตอนเหนือคงเป็นอำเภอนครน้อยและแบ่งเขตท้องที่ตอนใต้ออกเป็น อำเภอนครกลาง (ต่อมาในปีพ.ศ. 2446เปลี่ยนชื่ออำเภอนครกลางเป็นอำเภอนครหลวงจนถึงปัจจุบัน )
อำเภอเสนาใหญ่ ให้ทางตอนเหนือคงเป็นอำเภอเสนาใหญ่และแบ่งเขตท้องที่ตอนใต้ออกเป็นอำเภอเสนากลาง
อำเภอเสนาน้อย ให้ทางตอนเหนือคงเป็นอำเภอเสนาน้อยและแบ่งเขตท้องที่ตอนใต้ออกเป็น อำเภอเสนาใน
ต่อมาพ.ศ. 2443เปลี่ยนชื่ออำเภออุทัยน้อยเป็นอำเภอพระราชวัง

ในปีพ.ศ. 2450ได้แบ่งเขตท้องที่อำเภอพระราชวังด้านตะวันออก รวมกับ อำเภออุทัยใหญ่ด้านใต้ แล้วยกขึ้นเป็นอำเภออุทัยน้อยแทนอำเภออุทัยน้อยเดิมที่เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอพระราชวัง

ต่อมามีการเปลี่ยนชื่ออำเภอต่างๆให้ตรงกับชื่อตำบลที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอ อำเภอต่างๆของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจึงได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อใหม่ดังนี้

อำเภอรอบกรุง เป็น อำเภอกรุงเก่าและ เปลี่ยนเป็น อำเภอพระนครศรีอยุธยา
อำเภอนครใหญ่ เป็นอำเภอมหาราช
อำเภอนครใน เป็น อำเภอบางปะหัน
อำเภอนครน้อย เป็น อำเภอท่าเรือ
อำเภอนครหลวง คงเป็นอำเภอนครหลวง ดังเดิม
อำเภอเสนาใหญ่ เป็น อำเภอผักไห่
อำเภอเสนาใน เป็น อำเภอบางบาล
อำเภอเสนากลาง เป็น อำเภอเสนา
อำเภอเสนาน้อย เป็น อำเภอราชคราม และเปลี่ยนเป็น อำเภอบางไทร
อำเภอพระราชวัง เป็น อำเภอบางปะอิน
อำเภออุทัยใหญ่ เป็น อำเภออุทัย
อำเภออุทัยน้อย เป็น อำเภอวังน้อย
และอีก 4 กิ่งอำเภอได้แก่ กิ่งอำเภอลาดบัวหลวง (ขึ้นกับอำเภอบางไทร), กิ่งอำเภอภาชี (ขึ้นกับอำเภออุทัย), กิ่งอำเภอบางซ้าย (ขึ้นกับอำเภอเสนา) และกิ่งอำเภอบ้านแพรก (ขึ้นกับอำเภอมหาราช) ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอตามลำดับจนครบในปีพ.ศ. 2502

ปัจจุบันจังหวัดพระนครศรีอยุธยาประกอบด้วย 16 อำเภอ ได้แก่

อำเภอพระนครศรีอยุธยา
อำเภอท่าเรือ
อำเภอนครหลวง
อำเภอบางไทร
อำเภอบางบาล
อำเภอบางปะอิน
อำเภอบางปะหัน
อำเภอผักไห่
อำเภอภาชี
อำเภอลาดบัวหลวง
อำเภอวังน้อย
อำเภอเสนา
อำเภอบางซ้าย
อำเภออุทัย
อำเภอมหาราช
อำเภอบ้านแพรก